วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการหญ้าแฝก



ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก
พืชจากพระราชดำริ : กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ “หญ้าแฝก” ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆเกษตรกรสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝก ลักษณะของหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า
Vetiver Grass มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A.Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash) เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม.มีส่วนกว้าง 5-9 มม. หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้
เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้

การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ


1.การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำและดักตะกอนดิน ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้

2.การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินเป็นร่องน้ำลึก

3.การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ ให้ปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน

4.การปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผล ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน

5.การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา

6.การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นาตลอดจนปลูกรอบสระ หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำ ลำคลองเพื่อกรองตะกอนดิน

7.การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม

8.การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทาง และปลูกขวางแนวลาดเท เพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน

9.การปลูกในพื้นที่ดินดาน รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดานทำให้ดินแตกร่วนขึ้น และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น

10.การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างและรากยังมีประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น

ประโยชน์เอนกประสงค์อื่น ๆ ของหญ้าแฝก


1.ปลูกหญ้าแฝกบนคันนา เพื่อให้คันนาคงสภาพอยู่ได้นาน

2.ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคา ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิตจำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้าทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้

3.หญ้าแฝกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไข้ได้ ส่วนรากสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ อาทิเช่น ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ “Vetiver”

จากการดำเนินงานที่ทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันให้เป็นไปตามพระราชดำริ ทำให้มีผลการศึกษาและการปฏิบัติได้ผลอย่างชัดเจน จนเป็นที่ยอมรับจากธนาคารโลกว่า“ประเทศไทยทำได้ผลอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม” เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 International Erosion Control Association(IECA) ได้มีมติ
ถวายรางวัลThe International Erosion Control Association’s International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้า ฯ ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝกชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award of Recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และผลการดำเนินงานหญ้าแฝกในประเทศไทยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก ความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดินที่กลับคืนมานี้ เป็นเพราะพระวิริยะอุตสาหะและพระปรีชาญาณอันยาวไกลแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยที่กำลังถูกทำลายไปอย่างรวดเร็วทั้งนี้เพื่อความมั่งคั่งสมบูรณ์พูนสุขของประชาชนอย่างแท้จริง




ที่มา:Wichaya Sreepiwpak ,http://minamimim.blogspot.com/2010/06/blog-post_7207.html

หญ้าแฝกกำแพงมีชีวิต ฟื้นฟูดินและน้ำ-คืนความสมบูรณ์สิ่งแวดล้อม





การชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่สำคัญต่ออาชีพเกษตรกรรมของประเทศ ผลจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินอันเนื่องมาจากฝนตกหนัก และน้ำไหลบ่าอย่างรุนแรง ทำให้ผิวดินถูกกัดเซาะจนสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ เป็นเหตุให้ดินพังทลาย ส่งผลเสียหายต่อพื้นที่ทำการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหา จึงพระราชทานพระราชดำริให้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น จวบจนถึงปัจจุบัน "หญ้าแฝก" ได้พลิกฟื้นคืนชีวิตให้กับผืนดิน นำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ ให้เกษตรกรผู้ยากไร้ ได้มีที่ทำกินกันอย่างยั่งยืน

นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลการผลิตกล้าหญ้าแฝกเพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรและประชาชนได้นำไปปลูก ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาดำเนินการ ทั้งในเรื่องการพัฒนาสาย พันธุ์หญ้าแฝกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งการขยายพันธุ์ให้เพียงพอสำหรับแจกจ่ายให้ประชาชน ส่งเสริมการปลูกเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้มีความอุดมสมบูรณ์ แก้ไขปัญหาดินเสื่อมโทรมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น นอกจากนี้ กรมฯยังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.), มูลนิธิชัยพัฒนา ในการรณรงค์กระจายพันธุ์หญ้าแฝกไปยังสถานที่ต่างๆ นอกจากนี้ยังจัดงานประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้หันมาสนใจและเห็นถึงคุณประโยชน์ของการนำหญ้าแฝกไปใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำกันมากขึ้น

"การนำหญ้าแฝกไปปลูกในพื้นที่ที่ปลูกไม้เศรษฐกิจอย่างเช่นยางพารา หรือบนพื้นที่เกษตรที่มีความลาดชัน เช่น ภูเขา สามารถช่วยป้องกันหน้าดินไม่ให้พังทลายได้ หญ้าแฝกมีประโยชน์มากในการอนุรักษ์ดินและน้ำ จึงอยากรณรงค์ให้เกษตรกรและประชาชนหันมาสนใจในการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกมากขึ้น เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ แล้วตอนนี้เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ก็เป็นเวลาที่เหมาะสมในการปลูกหญ้าแฝกได้ผลดี มีอัตราการรอดสูง" อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าว

ด้าน ดร.พิทยากร ลิ่มทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ ศูนย์ปฏิบัติการหญ้าแฝก กรมพัฒนาที่ดินกล่าวถึงพันธุ์หญ้าแฝกซึ่งมีอยู่มากมายว่าพันธุ์หญ้าแฝกที่นักวิชาการค้นพบเก็บรวบรวมมาตั้งแต่ปี 2536 จากทั่วประเทศ ในตอนแรกมีประมาณ 40 พันธุ์ด้วยกัน จากนั้นเมื่อนำมาศึกษาในเชิงวิชาการแล้วจำแนกพันธุ์ใหม่ ก็คัดเลือกมาได้ 28 สายพันธุ์ และได้ทำการคัดเลือกต่อ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งไว้ว่าควรจะต้องคัดสายพันธุ์ที่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและต้องเป็นพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตได้ดีมีความแข็งแรง เพื่อจุดประสงค์หลักในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และจากการคัดเลือกในครั้งนั้นก็ทำให้เหลือพันธุ์หญ้าแฝกที่มีลักษณะเด่นสามารถนำไปปลูกตามความเหมาะสมของพื้นที่ต่างๆในประเทศไทยจำนวน 10 สายพันธุ์ด้วยกัน โดยแบ่งเป็นออกเป็น 2 ชนิด คือ แฝกลุ่มและแฝกดอน ซึ่งพันธุ์ลุ่มที่ตั้งชื่อตามสถานที่ที่พบคือ พันธุ์ศรีลังกา,กำแพงเพชร,สุราษฏร์ธานี,สงขลาและพันธุ์ดอน คือพันธุ์เลย,นครสวรรค์,กำแพงเพชร1,ร้อยเอ็ด,ราชบุรี,ประจวบคีรีขันธ์

"แต่ละพื้นที่ แต่ละภาคเหมาะกับสายพันธุ์ต่างกัน พันธุ์ลุ่มไม่จำเป็นว่าจะต้องปลูกในที่ลุ่มเสมอไป แต่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ดอนด้วย ขณะเดียวกันพันธุ์ดอนก็ไม่จำเป็นต้องปลูกในที่ดอนอย่างเดียว แต่สามารถปลูกในที่ลุ่มได้เจริญเติบโตได้ดี ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละพันธุ์ เช่นพันธุ์ลุ่มนั้นค่อนข้างจะเจริญได้รวดเร็ว ตั้งตัวได้ดี มักจะชอบน้ำ แล้วก็ไม่ค่อยทนหากกระทบกับความแล้งมาก ๆ ในทางตรงข้ามพันธุ์ดอนจะเจริญเติบโตช้ากว่า แต่จะมีความทน สามารถอยู่รอดในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดีกว่า เก่งคนละอย่าง" ดร.พิทยากร กล่าว

ดร.พิทยากรกล่าวอีกว่า สำหรับระยะเวลาและฤดูกาลที่เหมาะสมในการปลูกทั้งพันธุ์ลุ่มและพันธุ์ดอน ไม่แตกต่างกันมาก อยู่ที่การเตรียมดินให้ดี มีน้ำพร้อม ถ้าจะให้ดีต้องปลูกในช่วงต้นฤดูฝนเพราะจะทำให้หญ้าแฝกตั้งตัวได้เร็ว นอกจากนั้นเมื่อปลูกแล้วต้องดูแลในช่วงแรกด้วยการใส่ปุ๋ยหมักในช่วงปลูกและช่วงต้นฤดูฝนพร้อมทั้งกำจัดวัชพืชตามความเหมาะสม

"พันธุ์หญ้าแฝกที่ส่งเสริมกันอยู่ประมาณ 10 พันธุ์ แต่ที่ใช้จริงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ ส่วนมากแล้วจะใช้พันธุ์ลุ่มและพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือพันธุ์สุราษฎร์ธานีและสงขลา 3 อย่างภาคใต้ที่มีปัญหาเรื่องดินพังทลาย ก็จะใช้พันธุ์ลุ่ม เพราะมีน้ำมาก ฝนตกบ่อย และจะเลือกใช้พันธุ์ดอนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางที่ ในพื้นที่ที่เป็นดินทราย มีฝนตกน้อย ไม่สม่ำเสมอ"

นอกเหนือจากการแยกแยะสายพันธุ์ เพื่อให้สามารถนำไปปลูกได้ตามความเหมาะสมกับพื้นที่แล้ว กรมฯได้มีการจัดจำแนก แยกความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ด้วยการพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบพันธุ์หญ้าแฝกในห้องปฏิบัติการ DNA เพื่อประโยชน์ในการจำแนกแต่ละสายพันธุ์ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ในการจัดกลุ่มพันธุ์ให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต่างๆ ทั้งนี้หน่วยงานราชการ นักวิชาการ นักวิจัยและผู้สนใจ สามารถส่งตัวอย่างหญ้าแฝกมาตรวจ DNA ได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการหญ้าแฝก กรมพัฒนาที่ดิน




ที่มา:หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2554 05:52:09 น.

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กลอนลดโลกร้อน





ลด เถอะนะลดทำร้ายทำลายป่า
ลด เขนฆ่าธรรมชาติพินาศสิ้น
ลด คาร์บอนไดออกไซด์ทั่วแดนดิน
ลด การกินให้พอเพียงเลี้ยงชีวา

โลก ของเราเจ็บป่วยช่วยกันคิด
โลก วิกฤตอย่างหนักต้องรักษา
โลก แปรปรวนเราทั้งผองต้องเยียวยา
โลก เหนื่อยล้าเพราะคนก่นทำลาย

ร้อน รุนแรงจากภาวะเรือนกระจก
ร้อน วิตกจะยึดเยื้อน่าเบื่อหน่าย
ร้อน ไปหมดร้อนรุ่มสุมใจกาย
ร้อน มิคลายเพราะใครหนอพอเสียที

ด้วย สำนึกรวมพลังกันทั้งหมด
ด้วย อยากลดโลกร้อนทุกวิถี
ด้วย ตระหนักจึงเสาะหาทุกวิธี
ด้วย หน้าที่พึงสังวรก่อนสายเกิน

มือ สองข้างหมายมุ่งพยุงหล้า
มือ ซ้ายขวาไม่ปล่อยวางไม่ห่างเหิน
มือ ของเราประสานทั่วอย่ามัวเพลิน
มือ เผชิญกับความร้อนต้องผ่อนลง

เรา หิ้วถุงผ้าใช้ไปตลาด
เรา ทำพลาดต้องแก้ไขอย่าใหลหลง
เรา ปลูกป่ากันมากไว้ให้ยืนยง
เรา มั่นคงลดโลกร้อนก่อนรุนแรง

ที่มา:ชนาวุธ บุตรดี. ขวัญเรือน. ( 878 มิ.ย.2551 )หน้า 23

รักษ์หาดประวัติศาสตร์ ร่วมฟื้นธรรมชาติคู่เมือง




วันสิ่งแวดล้อมโลกที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) สงขลา ซึ่งมีพื้นที่ติดกับหาดสงขลา หาดประวัติศาสตร์ประจำเมืองมากว่า 200 ปี ควรค่าที่เยาวชนรุ่นหลังจะได้เรียนรู้ธรรมชาติ คุณค่าของหาดทราย ตลอดทั้งแนวทางฟื้นฟูที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างยั่งยืน ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาคนสงขลามองเห็นการเปลี่ยนแปลงและการพังทลายของหาดทรายที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานต่างๆ พยายามดูแลนับตั้งแต่การทำเขื่อนหินตัวที โยนหินก้อนใหญ่ราดซีเมนต์หยาบๆ ทับแล้วคลุมด้วยตาข่าย สุดท้ายมรดกทางธรรมชาติที่หลงเหลืออยู่กำลังจะถูกดัดแปลงให้แตกต่างไปจากเดิม

มทร.ศรีวิชัย ที่เน้นการเรียนการสอน บริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒน ธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน หาดสงขลาเปรียบเสมือนหน้าบ้านของมหาวิทยาลัย จึงเกิด "แลเล....แลหาดสงขลา" กิจกรรมที่ มทร.ศรีวิชัย จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้น และต้องการปลุกจิตสำนึกของเยาวชนและประชาชนให้หันกลับมารักและหวงแหนหาดซึ่งเป็นมรดกทางธรรมชาติที่งดงาม รวมไปถึงการหาแนวคิดเกี่ยวกับการฟื้นฟูหาดและเยียวยาหาดทราย กิจกรรมภายในงานที่สำคัญ คือ การสำรวจและเรียนรู้สถานการณ์หาดสงขลา การนำเสนอผลการสำรวจและข้อเสนอต่อการฟื้นฟูหาดสงขลา พิธีขอขมาคารวะทะเลโดยการบูชาทะเล เป็นต้น



นายธนกร สันบุกา นักเรียนโรงเรียนมหาวชิราวุธ อ.เมือง จ.สงขลา กล่าวว่า จากการร่วมสำรวจชายหาด พบว่าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเยอะมาก มีสิ่งที่ไม่ควรอยู่มาอยู่บนหาดทรายขาวๆ เช่น หินก้อนใหญ่ ขดลวด ทำให้หาดดูสกปรก ไม่สวยงาม

นายจิรชาติ ตันติลานนท์ นักเรียนโรงเรียนมหาวชิราวุธ อ.เมือง จ.สงขลา กล่าวว่า สมัยก่อน หาดจะสวย และกว่าจะเดินจากถนนไปถึงทะเลชายหาดค่อนข้างกว้างไกล แต่ตอนนี้ชายหาดโดนน้ำกัดเซาะทำให้ขนาดของหาดแคบลงแล้ว

น.ส.ระวีวรรณ พรรณราย นักศึกษา มทร. ศรีวิชัย กล่าวว่า ชายหาดกำลังป่วยจากน้ำมือของมนุษย์ ขณะที่เดินไปตามเส้นทางสำรวจได้พบสิ่งผิดปกติหลายอย่าง เช่น กรงเหล็กตาข่าย ก้อนหินก้อนใหญ่มากั้นเพื่อไม่ให้น้ำกัดเซาะดิน เป็นภาพที่ไม่น่ามอง ไม่ใช่ธรรมชาติของทะเล อาจเกิดจากการเข้าใจผิดของมนุษย์ที่คิดว่าจะลดการกัดเซาะของดินได้ ทั้งที่ไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง การเดินสำรวจชายหาดแบบจริงจังทำให้รู้สึกรักและหวงแหนชายหาด มากขึ้น

นายสรรเพชร เอียดแก้ว นักศึกษา มทร.ศรีวิชัย กล่าวว่า หาดสงขลาจะเป็นแบบขั้นบันได เปรียบเสมือนหน้าผาเล็กๆ ยิ่งเดินสำรวจเส้นทางก็ยิ่งแคบลง ต้นสนล้มหลายต้น น้ำกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้น ทำให้ชายหาดจากที่เคยกว้างใหญ่กลับแคบลง




หากไม่เร่งรีบที่จะแก้ปัญหา ถึงเวลาที่เราอาจต้องสูญเสียมรดกทางธรรมชาติคู่บ้านคู่เมืองของเราได้ คนสงขลาทุกฝ่ายจึงต้องหันมาผสานใจ ศึกษาและทำความเข้าใจสร้างพลังแห่งการเรียนรู้ สู่พลังทางสังคม หาทางผลักดันให้เกิดแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมในการฟื้นฟูและเยียวยาหาดสงขลา ให้กลับมาสวยงามและอุดมสมบูรณ์ดังเดิม


ที่มา:วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7504 ข่าวสดรายวัน หน้า 26

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รักษาป่าสัก 100 ปี "ป่าสักนวมินทรราชินี"


ย้อนหลังกลับไปเมื่อราวกลางปี 2552 คนไทยทั้งประเทศโดยเฉพาะกลุ่มคนรักป่าต่างตกอยู่ในอาการตื่นเต้นดีใจกับข่าวใหญ่ เมื่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกมาประกาศข่าวการค้นพบป่าสักธรรมชาติผืนใหญ่อายุกว่า 100 ปี บนเนื้อที่มากกว่า 30,000 ไร่ ในเขตลุ่มน้ำปาย ครอบคลุมพื้นที่ อ.ปางมะผ้า อ.ปาย และ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยบางจุดที่พบเป็นพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร ซึ่งถือเป็นความน่าอัศจรรย์อย่างหนึ่ง เพราะปกติต้นสักจะเติบโตอยู่ที่ระดับ 100-700 เมตร หรือสูงสุดเพียง 1,000 เมตรเท่านั้น
   
แต่ท่ามกลางความรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่เกิดขึ้น หลายคนคงอดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้ว่า อนาคตของป่าสักผืนนี้ จะต้องตกไปอยู่ในชะตากรรมเดียวกันกับป่าไม้หลายแห่งที่บุกรุกทำลายด้วยหรือไม่ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าป่าอนุรักษ์แต่ละแห่ง ล้วนยังต้องเผชิญกับการบุกรุกทำลายทั้งจากการลักลอบตัดไม้จากกลุ่มผลประโยชน์ และการบุกรุกแผ้วถางของชาวบ้าน ซึ่งบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปายก็อยู่ในภาวะความเสี่ยงไม่แพ้กัน
   
นายสุนันต์ อรุณนพรัตน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ความโชคดีของป่าสักผืนนี้ คือ มีภูมิประเทศโดยรอบเป็นภูเขาสูงและสลับซับซ้อน ทำให้เป็นเรื่องยากหากจะมีการเข้ามาลักลอบตัดไม้แล้วชักลากออกไปโดยตรง ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การตัดไม้แล้วปล่อยท่อนซุงลอยไปตามลำน้ำ แล้วไปดักรอนำท่อนซุงขึ้นบริเวณปลายน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงได้วางแนวทางป้องกันด้วยการตั้งด่านสกัดและจัดเรือออกลาดตระเวนตลอดลำน้ำ รวมทั้งจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการคอยลาดตระเวนตรวจสอบในพื้นที่ เพื่อมิให้มีการบุกรุกทำลายอย่างเข้มงวด
   
นอกจากนี้ ยังมีงานสำคัญอีกอย่าง คือ การทำงานกับชุมชนที่ อยู่ในเขตกันชนรอบ ๆ ป่า เพื่อดึง
เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผืนป่าแห่งนี้ไม่ให้ถูกทำลาย ทั้งจากธรรมชาติ คือ ไฟป่า ขบวนการลักลอบตัดไม้ และโดยน้ำ มือของชาวบ้านที่เข้าไปแผ้วถางรุกป่าเสียเอง
   
ถือเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของคนไทยและป่าสักผืนนี้ เนื่องจากเมื่อความทราบถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงรับป่าสักแห่งนี้ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 โดยใช้ชื่อว่า “โครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สัก และพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” และต่อมาวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 พระราชทานชื่อป่าสักแห่งนี้ว่า “ป่าสักนวมินทรราชินี”
   
“ตั้งแต่นั้นมา เราก็ใช้โครงการพระราชดำริออกนำหน้า โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดำเนินงานร่วมกัน ขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ก็เป็นตัวกลางในการประสานและอำนวยความสะดวก เช่น กรมชลประทานต้องเข้าไปวางระบบส่งน้ำ แต่ติดเงื่อนไขเรื่องกฎหมายเนื่องจากเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เราก็เข้าไปดูแลเรื่องการออกคำสั่งอนุญาตต่าง ๆ ให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ขณะที่ชาวบ้านเองเมื่อทราบว่าเป็นโครงการในพระราชดำริ ทุกคนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะพวกเขาเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น” นายสุนันต์ กล่าว
   
นายสว่าง กองอินทร์ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสนองพระราชดำริ กรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะยาว จะมีการเตรียมพัฒนาพื้นที่รอบนอกป่าสักให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ คุณค่าของไม้สักและทรัพยากรอื่น ๆ ในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการรักษาป่า และสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายว่า หากการบริหารจัดการพื้นที่เป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งการสำรวจและเก็บข้อมูลต่าง ๆ มีความครบถ้วนรอบด้าน “ป่าสักนวมินทรราชินี” ผืนนี้ จะถูกนำเสนอต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เพื่อให้ประกาศเป็น “มรดกโลกทางธรรมชาติ” อีกแห่งหนึ่งของคนไทย.
ย้อนหลังกลับไปเมื่อราวกลางปี 2552 คนไทยทั้งประเทศโดยเฉพาะกลุ่มคนรักป่าต่างตกอยู่ในอาการตื่นเต้นดีใจกับข่าวใหญ่ เมื่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกมาประกาศข่าวการค้นพบป่าสักธรรมชาติผืนใหญ่อายุกว่า 100 ปี บนเนื้อที่มากกว่า 30,000 ไร่ ในเขตลุ่มน้ำปาย ครอบคลุมพื้นที่ อ.ปางมะผ้า อ.ปาย และ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยบางจุดที่พบเป็นพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร ซึ่งถือเป็นความน่าอัศจรรย์อย่างหนึ่ง เพราะปกติต้นสักจะเติบโตอยู่ที่ระดับ 100-700 เมตร หรือสูงสุดเพียง 1,000 เมตรเท่านั้น
   
แต่ท่ามกลางความรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่เกิดขึ้น หลายคนคงอดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้ว่า อนาคตของป่าสักผืนนี้ จะต้องตกไปอยู่ในชะตากรรมเดียวกันกับป่าไม้หลายแห่งที่บุกรุกทำลายด้วยหรือไม่ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าป่าอนุรักษ์แต่ละแห่ง ล้วนยังต้องเผชิญกับการบุกรุกทำลายทั้งจากการลักลอบตัดไม้จากกลุ่มผลประโยชน์ และการบุกรุกแผ้วถางของชาวบ้าน ซึ่งบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปายก็อยู่ในภาวะความเสี่ยงไม่แพ้กัน
   
นายสุนันต์ อรุณนพรัตน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ความโชคดีของป่าสักผืนนี้ คือ มีภูมิประเทศโดยรอบเป็นภูเขาสูงและสลับซับซ้อน ทำให้เป็นเรื่องยากหากจะมีการเข้ามาลักลอบตัดไม้แล้วชักลากออกไปโดยตรง ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การตัดไม้แล้วปล่อยท่อนซุงลอยไปตามลำน้ำ แล้วไปดักรอนำท่อนซุงขึ้นบริเวณปลายน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงได้วางแนวทางป้องกันด้วยการตั้งด่านสกัดและจัดเรือออกลาดตระเวนตลอดลำน้ำ รวมทั้งจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการคอยลาดตระเวนตรวจสอบในพื้นที่ เพื่อมิให้มีการบุกรุกทำลายอย่างเข้มงวด
   
นอกจากนี้ ยังมีงานสำคัญอีกอย่าง คือ การทำงานกับชุมชนที่ อยู่ในเขตกันชนรอบ ๆ ป่า เพื่อดึง
เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผืนป่าแห่งนี้ไม่ให้ถูกทำลาย ทั้งจากธรรมชาติ คือ ไฟป่า ขบวนการลักลอบตัดไม้ และโดยน้ำ มือของชาวบ้านที่เข้าไปแผ้วถางรุกป่าเสียเอง
   
ถือเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของคนไทยและป่าสักผืนนี้ เนื่องจากเมื่อความทราบถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงรับป่าสักแห่งนี้ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 โดยใช้ชื่อว่า “โครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สัก และพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” และต่อมาวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 พระราชทานชื่อป่าสักแห่งนี้ว่า “ป่าสักนวมินทรราชินี”
   
“ตั้งแต่นั้นมา เราก็ใช้โครงการพระราชดำริออกนำหน้า โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดำเนินงานร่วมกัน ขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ก็เป็นตัวกลางในการประสานและอำนวยความสะดวก เช่น กรมชลประทานต้องเข้าไปวางระบบส่งน้ำ แต่ติดเงื่อนไขเรื่องกฎหมายเนื่องจากเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เราก็เข้าไปดูแลเรื่องการออกคำสั่งอนุญาตต่าง ๆ ให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ขณะที่ชาวบ้านเองเมื่อทราบว่าเป็นโครงการในพระราชดำริ ทุกคนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะพวกเขาเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น” นายสุนันต์ กล่าว
   
นายสว่าง กองอินทร์ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสนองพระราชดำริ กรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะยาว จะมีการเตรียมพัฒนาพื้นที่รอบนอกป่าสักให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ คุณค่าของไม้สักและทรัพยากรอื่น ๆ ในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการรักษาป่า และสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายว่า หากการบริหารจัดการพื้นที่เป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งการสำรวจและเก็บข้อมูลต่าง ๆ มีความครบถ้วนรอบด้าน “ป่าสักนวมินทรราชินี” ผืนนี้ จะถูกนำเสนอต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เพื่อให้ประกาศเป็น “มรดกโลกทางธรรมชาติ” อีกแห่งหนึ่งของคนไทย.




แปลงขยะเป็นก๊าชชีวภาพ




ขยะกำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญสำหรับสังคมไทยโดยขยะที่มีส่วนมากที่สุดคือ ขยะอินทรีย์ ยิ่งประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ก็ยิ่งมีอินทรีย์วัตถุเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ทำให้ภาระในการจัดการขยะยิ่งมากขึ้นทุกที และในหลายๆ ครั้ง การจัดการขยะก็นำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมไทย
แต่วันนี้ขยะกำลังจะกลายเป็นพลังงานที่มีค่า ด้วยการนำระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพมากำจัดเศษวัตถุอินทรีย์เหล่านี้ ก๊าชชีวภาพ หรือ Biogas คือ ก๊าชที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ เช่น กากอาหารมูลสัตว์ โดยจุลินทรีย์ ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกชิเจน (หรือที่เรียกว่าสภาพที่ไร้อากาศ)

ก๊าชชีวภาพประกอบด้วยก๊าชหลายชนิดโดยส่วนใหญ่มี ก๊าชมีเทน (CH4) ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถติดไฟได้เป็นองค์ประกอบหลักถึง 50-70 %  จึงสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี และก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 30-50 % ส่วนที่เหลือเป็นก๊าชอื่นๆ  เช่น ก๊าชไฮโดรเจน (H2) ก๊าชออกซิเจน (02) ก๊าชไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) ก๊าชไนไตรเจน (N2) และไอน้ำ

เดิมทีเวลากล่าวถึงก๊าชชีวภาพเรามักจะนึกถึง “ก๊าชขี้หมู” แต่จริงๆ แล้ว อินทรีย์วัตถุทุกชนิดสามารถนำผลิตก๊าชชีวภาพได้ แต่จะได้จำนวนก๊าชชีวภาพมากน้อยแค่ไหน หรือจะเกิดก๊าชยากง่ายเพียงใด ขึ้นอยู่กับชนิดชองอินทรีย์วัตถุ เช่น มูลสัตว์จะเกิดก๊าชชีวภาพง่ายกว่าพืชสดเพราะอินทรีย์วัตถุในมูลสัตว์ถูกย่อยมาแล้วรอบหนึ่งในกระเพาะของสัตว์ จุลินทรีย์จึงย่อยสลายต่อได้ง่ายกว่า ดังนั้น หากจะนำขยะอินทรีย์มาใช้ในการหมักก๊าชชีวภาพก็ควรมีการบดย่อยเห็นให้เป็นชิ้นเล็กก่อน และในช่วงเริ่มต้นการหมัก เราจะต้องใส่มูลสัตว์ลงไปก่อน เพื่อเห็นเกิดก๊าชชีวภาพได้เร็วขึ้น

การนำขยะอินทรีย์มาหมักในบ่อก๊าชชีวภาพ นอกจากจะเป็นการช่วยกำจัดขยะ ลดกลิ่นเหม็นและแมลงวันในบริเวณนั้นลงแล้ว การหมักขยะในบ่อที่ปราศจากออกซิเจนเป็นเวลานาน จะทำให้ไข่พยาธิและเชื้อโรคตาย   ส่วนกากที่ได้จากการหมักของบ่อหมักก๊าชชีวภาพก็ยังสามารถใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้อีกด้วย
ในแง่พลังงาน เราสามารถนำก๊าชชีวภาพนี้ไปใช้แทนพลังงานฟอสซิลด้วย โดยก๊าชที่ได้จากบ่อหมักที่มีขนาดเล็ก (เช่น ขนาดเล็กกว่า 100 ลบ.ม.) ก็สามารถนำไปใช้แทนเชื้อเพลิงหุงต้ม เช่น ก๊าชหุงต้มได้ (หรือถ่านและฟืน) ส่วนก๊าชที่ได้จากบ่อหมักขนาดใหญ่สามารถนำไปใช้แทนน้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และก๊าชในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้มีมากเกินกว่าความต้องการใช้ก็สามารถขายเข้าสู่ระบบไฟฟ้าภายใต้ฐานะของผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) และเล็กมาก (VSPP) ได้
สำหรับชุมชนอาจใช้ถังหมักก๊าชแบบยอดโดม(Fixed dome digester) ซึงมีลักษณะเป็นทรงโดมฝังอยู่ใต้เดินโดยก๊าชชีวภาพที่ผลิตได้จะถูกเก็บไว้ในส่วนของยอดโดมซึ่งเหมาะสำหรับโรงอาหารขนาดใหญ่ของบริษัท โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ตลาดสด หรือสถานปฏิบัติธรรม

โดยโรงงานอาหารในบริษัทปูนซีเมนต์ไทยแก่งคอย จ. สระบุรี ซึ่งมีขนาดบ่อหมัก 16 ลบ.ม ซึ่งสามารถรับขยะอินทรีย์ได้มากกว่าวันวันละ 25-30 กก. และเกิดก๊าชชีวภาพซึ่งสามารถนำมาใช้แทนก๊าชหุงต้มในการทำอาหารได้ถึงวันละ 2 ชั่วโมงครึ่ง ใช้เงินลงทุนประมาณ 100,000 บาท ส่วนความพยายามของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าไผ่  อ.แก่งคอย  จ.สระบุรี  ที่จะทำให้โรงเรียนบ้านป่าไผ่กลายเป็นโรงเรียนปลอดขยะ  จึงช่วยกันกำจัดเศษอาหารและขยะอินทรีย์ด้วยถังหมักก๊าซชีวภาพขนาด 500 ลิตร 2 ใบ (รวมเป็น 1 ลบ.ม.) ซึ่งสามารถรับขยะได้ประมาณวันละ 10 กก.  และทำให้เกิดก๊าซชีวภาพซึ่งสามารถนำมาใช้หุงต้ม ได้วันละ 45 นาที ใช้เงินลงทุนประมาณ 38,500 บาท กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้พัฒนาถังหมักก๊าชชีวภาพจากขยะอินทรีย์ต้นแบบ ขนาด 2 ลบ.ม สามารถรับขยะได้ประมาณ   15-20 กก.  ค่าลงทุนประมาณ 40,000 บาทต่อชุด และค่าเดินระบบและบำรุงรักษาประมาณ 10,000 บาทต่อปี สามารถประหยัดเงินจากการซื้อก๊าชหุงต้ม ปุ๋ยอินทรีย์ ตลอดจนค่าช้าจ่ายในการจัดการขยะ รวมทั้งสิ้น 27,600 บาทต่อปี ดังนั้น จึงสามารถคืนทุนได้ในเวลาประมาณ 2 ปี 5 เดือน (ผู้สนใจสามารถดูคู่มือและแบบแปลนของถังหมักแบบนี้ได้ที่ http:// www.dede.go.th/dede/fileadmin/upload/nov50/july51/book01.pdf)
สำหรับเมืองขนาดใหญ่ เราก็สามารถเรียนรู้ได้จากโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์และพลังงานเทศบาลลนครระยอง ซึ่งเป็นโครงการนำร่องผลิตไฟฟ้าจากจากขยะมูลฝอยรองรับปริมาณขยะอินทรีย์ได้ประมาณวันละ 60 ตัน โดยผลิตก๊าชชีวภาพสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า กำลังการผลิต 625 กิโลวัตต์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่าปีละ 5.1 ล้านหน่วย และขายไฟฟ้าเยข้าระบบได้ประมาณ 3.8 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นเงินได้ประมาณ 5.8  ล้านบาทต่อปี รวมทั้งผลิตปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 5,562 ตันต่อปี คิดเป็นเงินได้ประมาณ 5.6 ล้านบาทต่อปี
จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยซึ่งมีขยะชุมชนประมาณ 14.5 ล้านตันต่อปี ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งนั้นเป็นขยะอินทรีย์ (มากกว่า 7 ล้านตัน/ปี่หรือประมาณ 20,000 ตาน ตัน/วัน) จึงเป็นศักยภาพที่เราสามารถนำมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 1,000 ล้านหน่วย/ปี หรือเพียงพอสำหรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของจังหวัดเล็กๆ ถึง 4-5 จังหวัด หรือหากเทียบเป็นมูลค่าก็ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท/ปี  ดังนั้น ขยะอินทรีย์จึงเป็นขุมพลังข้างบ้านที่เราไม่อาจมองข้ามเลยทีเดียว



ที่มา : http://www.dede.go.th/dede/fileadmin/upload/nov50/july51/book01.pdf) 

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เรือน้ำตาลล่มเป็นพิษ

ปลาในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลอยตายเป็นเบือ ชาวบ้านเชื่อเกิดจากเรือบรรทุกน้ำตาลทรายกว่า 7 พันตันล่ม ขณะที่นายอำเภอสั่งห้ามนำไปบริโภค หวั่นเป็นอันตราย
โดยในลำน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่บริเวณหน้าพระราชวังบางปะอินเรื่อยไปจนถึงบริเวณท่าน้ำวิชัยยุทธ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร มีปลานานาชนิดทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ปลาหนัง ปลาเกล็ดทุกชนิด ทนต่อสภาพน้ำที่เป็นพิษไม่ไหวลอยขึ้นมาหายใจเหนือน้ำ เช่น ปลาบึก ปลากรด ปลาสวาย ปลาค้าว ปลาเนื้ออ่อน ปลาเกล็ดขาวทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่กุ้งก้ามกรามตัวใหญ่ลอยหนีน้ำขึ้นมาหายใจถูกชาวบ้านจับไปเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังพบปลากระชังที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ตามริมแม่น้ำ ทนต่อสภาพน้ำไม่ไหวลอยหัวหายใจ และตายลอยเป็นแพในที่สุด ตั้งแต่เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา ชาวบ้านบอกว่าแม้แต่ปลาลิ้นหมาซึ่งเป็นปลาน้ำลึกอยู่อาศัยก้นแม่น้ำลึก ลอยขึ้นมาหายใจ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าน้ำมีความผิดปกติอย่างวิกฤตอย่างแรงทำให้ปลาพวกนี้อยู่ไม่ได้ต้องลอยขึ้นมาวผิวน้ำ

เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. นายวรศาสน์ อภัยพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ  เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุเรือบรรทุกน้ำตาลทรายแดงล่มในแม่น้ำเจ้าพระยา   บริเวณ ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา ซึ่งกรมควบคุมมลพิษ ได้ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำภายหลังเกิดเหตุ ในวันนี้ พบว่าคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับผลกระทบและเสื่อมโทรม โดยบริเวณ อ.บางไทร  ตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ จากเดิมตรวจวัดค่าได้ 3.8 มิลลิกรัมต่อลิตร  ลดลงเหลือ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และคุณภาพน้ำบริเวณต.สำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี จากเดิมตรวจวัดได้ 3.8 มิลลิกรัมต่อลิตร ลดลงเหลือ 2.8 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำทำให้ขาดออกซิเจนและตายได้ ทั้งนี้กรมควบคุมมลพิษจะรายงานความคืบหน้าให้ทราบจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะ


ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=142510&categoryID=419 http://news.mediathai.net/detail_news.php?newsid=85649
ครอบครัวข่าว 3