วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ครอบครัวยุคใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

การใช้น้ำ
1. ตรวจสอบรอยรั่วของท่อประปา หรือรอยรั่วก๊อกน้ำแล้วอุดรอยรั่วนั้นให้เรียบร้อย อย่าปล่อยให้มันหยดทิ้งแม้น้อยนิดก็ตามที
2. การล้างถ้วยชามภาชนะ ทุกครั้งที่ล้าง ควรเปิดน้ำลงอ่าง แล้วจึงล้าง ถ้าจะให้สะอาดก็ล้าง 2 ครั้งซึ่งจะใช้น้ำประมาณ 25 ลิตรเท่านั้น อย่างล้างด้วยวิธีเปิดก๊อกน้ำตลอดเวลา เพราะ จะเสียน้ำถึง 135 ลิตร ใน 15 นาที
3. การล้างอาหาร ผัก ผลไม้ ควรมีภาชนะรองรับน้ำ เท่าที่จำเป็นในการล้างแต่ละครั้ง แทนการเปิดก๊อกล้างโดยตรงเพราะจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่า และยังสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วไปรดน้ำต้นไม้ ได้อีก
4. การซักผ้า การซักผ้าแต่ละครั้งควรมีจำนวนมากพอควร เพราะการซักแต่ละครั้งจะสิ้นเปลืองน้ำสูงมาก ขณะซักอย่าเปิดน้ำจากก๊อกลงภาชนะตลอดเวลา เพราะเพียง 20 นาที ท่านอาจเสียน้ำถึง 180 ลิตร การซักผ้าด้วยเครื่องจะใช้น้ำประมาณ 130 ลิตร จึงควรรวบรวมผ้าให้ได้มากพอกับกำลังของเครื่อง
5. การเช็ดถู ควรตักน้ำใส่ถัง แล้วเอาผ้าหรือเครื่องมือจุ่มลงไป ไม่ควรใช้น้ำจากสายยางโดยตรง เพราะจะเสียน้ำ ถึง 200 ลิตร ใน 5 นาที
6. การรดน้ำต้นไม้ ไม่ควรใช้สายยาง ควรใช้ฝักบัว ในการรดน้ำ จะประหยัดน้ำได้มาก
7. การล้างรถ ควรใช้ไม้ขนไก่ลูบฝุ่นออกก่อน แล้วจึงล้างรถ โดยรองน้ำใส่ถัง นำมาเช็ดล้างอีกครั้ง ไม่ควรใช้สายยางฉีดล้างโดยตรง จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมาก และยังทำให้รถผุเร็วด้วย
8. ใช้ถังชักโครกที่ประหยัดน้ำ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเปลืองน้ำไปกับการชำระล้างโถส้วม เกินความจำเป็น
9. การโกนหนวด เมื่อโกนหนวดแล้วจึงใช้กระดาษชำระเช็ดออกทีหนึ่งก่อน แล้วจึงใช้น้ำใส่แก้วมาชำระล้างอีกครั้ง ควรล้างมีดโกนโดยการจุ่มล้างในแก้ว หรือขัน จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่า การล้างโดนตรงจากก๊อก
10. การแปรงฟัน ควรใช้แก้วหรือขันรองน้ำ เพื่อใช้ในการแปรงฟัน หรือล้างแปรง แต่ละครั้ง ซึ่งจะใช้น้ำ 1-2 แก้วก็พอ
11. การอาบน้ำ ควรอาบด้วยฝักบัว หรือใช้ขันตักอาบ จะประหยัดมากกว่าการอาบในอ่างอาบน้ำ


การลดของเสีย การนำกลับมาใช้ซ้ำ
1. ซื้อผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ในตลาดสดใกล้บ้าน แทนการช็อปปิ้งในซูเปอร์มาร์เก็ตซึ่งอาหารสดทุกอย่างมีการหีบห่อด้วยพลาสติกและโฟม ทำให้เกิดขยะจำนวนมาก
2.  แยกขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก เศษอาหาร ออกจากขยะอื่นๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
3. ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก เพราะถุงพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และการเผากำจัดในเตาเผาขยะอย่างถูกวิธีต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีก๊าซเรือนกระจกเพิ่มในบรรยากาศ
4. เลือกซื้อสินค้าที่มีหีบห่อน้อยๆ หีบห่อหลายชั้นหมายถึงการเพิ่มขยะอีกหลายชิ้นที่จะต้องนำไปกำจัด
5. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้ เพื่อเป็นการลดขยะจากหีบห่อของบรรจุภัณฑ์
6. ใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า เพราะกระบวนการผลิตกระดาษแทบทุกขั้นตอนใช้พลังงานจากน้ำมันและไฟฟ้าจำนวนมาก


หลีกเลี่ยงสารเคมีอันตรายที่มักพบบ่อยในชีวิตประจำวัน

1. แนะนำเรื่องการซื้ออาหารรับประทานให้เลือกอาหารที่มีคุณภาพ มีประโยชน์  ถูกลักษณะ หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารข้างถนนเพราะมีสารปนเปื้อนในปริมาณมาก
 2. ควรเลือกใช้เครื่องสำอางที่ไม่ผสมสารปรอท ผลิตภัณฑ์ที่ผ่าน อย. ต้องอ่านสลากก่อนใช้ มีการตรวจสอบอายุการใช้งาน วันหมดอายุ พยายามเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผสมสี อุปกรณ์ที่ใช้ที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานก็ควรเลือกใช้ให้ถูกประเภท เช่น อุ่นอาหารโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าให้ใช้กับเครื่องไมโครเวฟได้ เป็นต้น
 3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีความปลอดภัยและไม่มีอันตราย
 4. หลีกเลี่ยงการขวดน้ำพลาสติกใส ซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง เพราะพลาสติกประเภทนี้มีอายุการใช้งานสั้น อาจทำให้เกิดสารปนเปื้อนได้
 5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกระป๋อง ให้พยายามกินอาหารสด หรืออาหารที่ปรุงเอง
 6. ควรพิถีพิถันพิจารณาเลือกผักและผลไม้ เนื่องจากปัจจุบันผักและผลไม้มักมีการใช้ยาฆ่าแมลงและใช้สารเคมีเพื่อให้ผักผลไม้สด มีการใช้แว๊กเพื่อให้ผลไม้เงา ซึ่งเวลารับประทานก็ควรล้างให้สะอาด และปอกเปลือกผลไม้ที่แว๊กให้เงา
 7. เลือกสินค้าเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัย โดยเลือกสินค้าที่ได้รับ
เครื่องหมาย Q
 8. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน แต่ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติแทน




ที่มา; http://www.environnet.in.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น