วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ครอบครัวยุคใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

การใช้น้ำ
1. ตรวจสอบรอยรั่วของท่อประปา หรือรอยรั่วก๊อกน้ำแล้วอุดรอยรั่วนั้นให้เรียบร้อย อย่าปล่อยให้มันหยดทิ้งแม้น้อยนิดก็ตามที
2. การล้างถ้วยชามภาชนะ ทุกครั้งที่ล้าง ควรเปิดน้ำลงอ่าง แล้วจึงล้าง ถ้าจะให้สะอาดก็ล้าง 2 ครั้งซึ่งจะใช้น้ำประมาณ 25 ลิตรเท่านั้น อย่างล้างด้วยวิธีเปิดก๊อกน้ำตลอดเวลา เพราะ จะเสียน้ำถึง 135 ลิตร ใน 15 นาที
3. การล้างอาหาร ผัก ผลไม้ ควรมีภาชนะรองรับน้ำ เท่าที่จำเป็นในการล้างแต่ละครั้ง แทนการเปิดก๊อกล้างโดยตรงเพราะจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่า และยังสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วไปรดน้ำต้นไม้ ได้อีก
4. การซักผ้า การซักผ้าแต่ละครั้งควรมีจำนวนมากพอควร เพราะการซักแต่ละครั้งจะสิ้นเปลืองน้ำสูงมาก ขณะซักอย่าเปิดน้ำจากก๊อกลงภาชนะตลอดเวลา เพราะเพียง 20 นาที ท่านอาจเสียน้ำถึง 180 ลิตร การซักผ้าด้วยเครื่องจะใช้น้ำประมาณ 130 ลิตร จึงควรรวบรวมผ้าให้ได้มากพอกับกำลังของเครื่อง
5. การเช็ดถู ควรตักน้ำใส่ถัง แล้วเอาผ้าหรือเครื่องมือจุ่มลงไป ไม่ควรใช้น้ำจากสายยางโดยตรง เพราะจะเสียน้ำ ถึง 200 ลิตร ใน 5 นาที
6. การรดน้ำต้นไม้ ไม่ควรใช้สายยาง ควรใช้ฝักบัว ในการรดน้ำ จะประหยัดน้ำได้มาก
7. การล้างรถ ควรใช้ไม้ขนไก่ลูบฝุ่นออกก่อน แล้วจึงล้างรถ โดยรองน้ำใส่ถัง นำมาเช็ดล้างอีกครั้ง ไม่ควรใช้สายยางฉีดล้างโดยตรง จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมาก และยังทำให้รถผุเร็วด้วย
8. ใช้ถังชักโครกที่ประหยัดน้ำ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเปลืองน้ำไปกับการชำระล้างโถส้วม เกินความจำเป็น
9. การโกนหนวด เมื่อโกนหนวดแล้วจึงใช้กระดาษชำระเช็ดออกทีหนึ่งก่อน แล้วจึงใช้น้ำใส่แก้วมาชำระล้างอีกครั้ง ควรล้างมีดโกนโดยการจุ่มล้างในแก้ว หรือขัน จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำน้อยกว่า การล้างโดนตรงจากก๊อก
10. การแปรงฟัน ควรใช้แก้วหรือขันรองน้ำ เพื่อใช้ในการแปรงฟัน หรือล้างแปรง แต่ละครั้ง ซึ่งจะใช้น้ำ 1-2 แก้วก็พอ
11. การอาบน้ำ ควรอาบด้วยฝักบัว หรือใช้ขันตักอาบ จะประหยัดมากกว่าการอาบในอ่างอาบน้ำ


การลดของเสีย การนำกลับมาใช้ซ้ำ
1. ซื้อผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ในตลาดสดใกล้บ้าน แทนการช็อปปิ้งในซูเปอร์มาร์เก็ตซึ่งอาหารสดทุกอย่างมีการหีบห่อด้วยพลาสติกและโฟม ทำให้เกิดขยะจำนวนมาก
2.  แยกขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก เศษอาหาร ออกจากขยะอื่นๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
3. ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก เพราะถุงพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และการเผากำจัดในเตาเผาขยะอย่างถูกวิธีต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีก๊าซเรือนกระจกเพิ่มในบรรยากาศ
4. เลือกซื้อสินค้าที่มีหีบห่อน้อยๆ หีบห่อหลายชั้นหมายถึงการเพิ่มขยะอีกหลายชิ้นที่จะต้องนำไปกำจัด
5. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้ เพื่อเป็นการลดขยะจากหีบห่อของบรรจุภัณฑ์
6. ใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า เพราะกระบวนการผลิตกระดาษแทบทุกขั้นตอนใช้พลังงานจากน้ำมันและไฟฟ้าจำนวนมาก


หลีกเลี่ยงสารเคมีอันตรายที่มักพบบ่อยในชีวิตประจำวัน

1. แนะนำเรื่องการซื้ออาหารรับประทานให้เลือกอาหารที่มีคุณภาพ มีประโยชน์  ถูกลักษณะ หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารข้างถนนเพราะมีสารปนเปื้อนในปริมาณมาก
 2. ควรเลือกใช้เครื่องสำอางที่ไม่ผสมสารปรอท ผลิตภัณฑ์ที่ผ่าน อย. ต้องอ่านสลากก่อนใช้ มีการตรวจสอบอายุการใช้งาน วันหมดอายุ พยายามเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผสมสี อุปกรณ์ที่ใช้ที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานก็ควรเลือกใช้ให้ถูกประเภท เช่น อุ่นอาหารโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าให้ใช้กับเครื่องไมโครเวฟได้ เป็นต้น
 3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีความปลอดภัยและไม่มีอันตราย
 4. หลีกเลี่ยงการขวดน้ำพลาสติกใส ซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง เพราะพลาสติกประเภทนี้มีอายุการใช้งานสั้น อาจทำให้เกิดสารปนเปื้อนได้
 5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกระป๋อง ให้พยายามกินอาหารสด หรืออาหารที่ปรุงเอง
 6. ควรพิถีพิถันพิจารณาเลือกผักและผลไม้ เนื่องจากปัจจุบันผักและผลไม้มักมีการใช้ยาฆ่าแมลงและใช้สารเคมีเพื่อให้ผักผลไม้สด มีการใช้แว๊กเพื่อให้ผลไม้เงา ซึ่งเวลารับประทานก็ควรล้างให้สะอาด และปอกเปลือกผลไม้ที่แว๊กให้เงา
 7. เลือกสินค้าเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัย โดยเลือกสินค้าที่ได้รับ
เครื่องหมาย Q
 8. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน แต่ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติแทน




ที่มา; http://www.environnet.in.th/

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ครอบครัวยุคใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม 2

การบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
  
สัญลักษณ์ฉลากเขียว สัญลักษณ์ที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีการควบคุมการปล่อยสารเคมีหรือการสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม มีการประหยัดพลังงานและทรัพยากรตลอดขึ้นตอนการผลิต การขนส่งและการใช้งาน รวมทั้งไม่เป็นภาระในการกำจัดหลังการใช้งาน


สัญลักษณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 ฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าและมาตรฐานการประหยัดไฟฟ้า ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบและรับรองแล้ว 8 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หลอดไฟตะเกียบ บัลลาสต์ พัดลม หม้อหุงข้าว และโคมไฟ


สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์วัสดุรีไซเคิล สัญลักษณ์ที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์ทำมาจากวัสดุรีไซเคิล และสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้อีกครั้ง




สัญลักษณ์มาตรฐาน Q สินค้าเกษตรและอาหารมีคุณภาพและความปลอดภัย ตั้งแต่การผลิตระดับโรงงานที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติในการผลิตที่ดี (Good manufacturing Practices, GMP) หรือ มาตรฐานการวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤติ (Hazard Analysis and Critical Control Points, HACCP) ซึ่งผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและประเทศคู่ค้าสามารถเชื่อมั่นในสินค้าเกษตร และอาหารนั้นได้




สัญลักษณ์ใบไม้สีเขียว มาตรฐานสำหรับกลุ่มธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อม และพลังงาน มีการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติ



สัญลักษณ์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ สัญลักษณ์ที่แสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า



สัญลักษณ์ฉลากลดคาร์บอน   สัญลักษณ์ที่แสดงระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ โดยการประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA) หรือสินค้าตั้งแต่การจัดเตรียมวัตถุดิบ การผลิต การใช้ และการจัดการหลังการใช้ โดย ฉลากลดคาร์บอน จะแสดงให้ผู้บริโภคได้รับทราบว่า ในกระบวนการผลิตสินค้าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นปริมาณเท่าใดหลังจากที่ผู้ประกอบการ ได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตแล้ว


สัญลักษณ์ Cool mode  สำหรับเสื้อผ้าที่ผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัย ปราศจากสารก่อมะเร็ง มีความคงทนต่อการสวมใส่ และระบายความร้อนได้ดี ทำให้สามารถเปิดเครื่องปรับอากาศที่อุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียสได้


วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กล่องนมหลังคาเขียว

เรามารู้จักการเก็บกล่องเครื่องกันก่อนดีกว่า



มาลงมือกันเลย อย่างแรกตัดกล่องนมก่อน (ต้องทำหลังดื่มหมดทันทีนะจ๊ะ)






แล้วก็ทำความสะอาดให้เรียบร้อย




เสร็จแล้วจ้า


จากนั้นเราก็มาตากให้แห้งแล้วเก็บเก็บใส่ถุง






และแล้วจากเวาลา 1 เดือนที่ทยอยกันเก็บวันละกล่องของคนในกลุ่ม รวมทั้งหมดได้120 กล่อง
วันนี้พวกเราได้นำกล่องนมไปให้ที่บิ๊กซี สาขา ราชบุรี ที่โครงการหลังคาเขียว มาดูรูปกัน






มีกันแค่ 3 คน สมาชิกอีกคนไม่สามารถมาได้ เนื่องจากเป็นหวัด (หายเร็วๆน่ะ)^___^

มาช่วยกันเก็บกล่องเครื่องดื่มที่ดื่มหมดแล้วกันเถอะค่ะ เพื่อเป็นประโยชน์ของคนอีกหลายคน ^^




วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รู้หรือไม่....

ครอบครัวยุคใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน กําลังอยู่ในความสนใจของนานาประเทศ เนื่องจากต่างได้รับผลกระทบโดยทั่วกันประเทศต่างๆ เริ่มหันมาสนใจและตระหนักถึงภัยพิบัติของโลกร้อนและวิธีลดโลกร้อน เราทุกคนสามารถช่วยโลกนี้ได้ ก่อนที่จะสายเกินไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของคุณเพียงเล็กน้อย สามารถช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนหรือช่วยชะลอให้ภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนี้


การใช้เชื้อเพลิง • ขับรถยนต์ส่วนตัวให้น้อยลง ด้วยการปั่นจักรยาน ใช้รถโดยสารประจำทาง หรือใช้การเดินแทนเมื่อต้องไปทำกิจกรรมหรือธุระใกล้ๆ บ้าน
• ไปร่วมกันประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool นัดเพื่อนร่วมงานที่มีบ้านอาศัยใกล้ๆ นั่งรถยนต์ไปทำงานด้วยกัน ช่วยประหยัดน้ำมัน และยังเป็นการลดจำนวนรถติดบนถนน ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทางอ้อมด้วย
• เลือกซื้อรถยนต์ที่มีขนาดตามความจำเป็น โดยพิจารณาจากขนาดครอบครัวและประโยชน์การใช้งาน รวมทั้งพิจารณารุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
• ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องเลือกรถโฟว์วีลขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ เพราะกินน้ำมันมาก และตะแกรงขนสัมภาระบนหลังคารถก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะเป็นการเพิ่มน้ำหนักรถให้เปลืองน้ำมัน
• ขับรถอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะทางไกลการขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
• เปลี่ยนมาใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล ให้มากขึ้น
• วางแผนการเดินทางทุกครั้งก่อนออกรถ เพื่อจะได้ไม่ต้องขับวนไปวนมาคิดซ้ายคิดขวาว่าจะไปทางไหนดี
• เช็กลมยางเป็นประจำ การขับรถที่ยางลมมีน้อยอาจทำให้เปลืองน้ำมันได้ถึง 3% จากภาวะปกติ
•  นำรถเข้าอู่เป็นประจำ เพื่อเช็คสภาพและการทำงานต่าง ๆ ของรถ

การใช้ไฟฟ้า• ติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดานบ้าน เพื่อลดความร้อนและทำให้บ้านเย็น
• ติดตั้งระบบไฟฟ้าหมุนเวียนภายในบ้าน
•  นำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารบ้านเรือน โดยใช้การออกแบบบ้าน และตำแหน่งของช่องแสงเป็นปัจจัย ซึ่งจะช่วยลดจำนวนหลอดไฟและพลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้
• ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน เช่น หลอดไฟประหยัดพลังงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดเครื่องหมายประหยัดไฟเบอร์ 5 และควรหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเก่าๆ ที่มักจะกินไฟและประสิทธิภาพไม่ดีอีกด้วย
• ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า และถอดปลั๊กทุกครั้งที่ไม่ใช้งาน
หากคุณต้องเปิดไฟในสวนหน้าบ้านทุกคืน ควรใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ชาร์จพลังงานตอนกลางวัน และเปิดไฟตอนกลางคืน
• ในฤดูหนาวควรเปิดหน้าต่างให้ความเย็นเข้ามาในห้องตอนกลางคืน และปิดหน้าต่างตอนเช้า เพื่อให้ความเย็นภายในห้อง ไม่ถูกแทนที่ด้วยความร้อนจากแสงแดดตอนกลางวัน   
• เปิดแอร์ที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่าที่ 25 องศาเซลเซียส เนื่องจากหากตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นทุก 1 องศา จะประหยัดไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
• ใช้แสงแดดให้เป็นประโยชน์ ในการตากเสื้อผ้าที่ซักแล้วให้แห้ง ไม่ควรใช้เครื่องปั่นผ้าแห้งหากไม่จำเป็น เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า
• เสื้อผ้าน้อยชิ้นควรซักเองด้วยมือ ส่วนเครื่องซักผ้าควรใช้ในวันที่มีเสื้อผ้าเต็มตะกร้า
• ถอดสายชาร์จโทรศัพท์มือถือออกจากเบ้าเสียบทุกครั้งที่ชาร์จเสร็จ เพราะมันกินไฟโดยเปล่าประโยชน์
• ตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังด้านละประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อให้ได้ระบายความร้อนได้สะดวก
• ละลายน้ำแข็งในตู้เย็นเป็นประจำ และทำความสะอาดตู้เย็นทุกสัปดาห์
• อย่าเปิดตู้เย็นทิ้งไว้เป็นเวลานานเกินไป เพราะจะทำให้ความเย็นระบายออกมาหมดและทำให้ตู้เย็นทำงานหนัก กินไฟมาก
• ไม่ควรนำอาหารอุ่น ๆ หรือร้อนแช่ตู้เย็นเป็นอันขาด ควรวางไว้ให้เย็นก่อนแล้วค่อยนำเข้าตู้เย็นอีกครั้ง และหลีกเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็นได้ไม่ทั่วถึงอาหาร
ซื้ออาหารที่มีในท้องถิ่น เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องซื้อในปริมาณเยอะ ๆ แล้วนำมาตุนไว้ในช่องแช่แข็งจนไม่มีที่ว่าง


ติมตามต่ออาทิตย์หน้า...

ที่มา; http://www.environnet.in.th/

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Save world for happines


ท่ามกลางภัยธรรมชาติมากมายที่เกิดขึ้นรอบโลกในช่วงห้าปีหลังที่ผ่านมา เป็นสัญญาณเตือนที่ทำให้ชาวโลกได้รู้ว่าเราได้ทำลายธรรมชาติมากเกินสมดุล และเวลาแห่งการปรับตัวของโลกเพื่อคืนสมดุลกลับมานั้นได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
จากสถิติในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เราได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติหมดไปแล้วถึงหนึ่งในสามของทั้งหมดที่เรามีอยู่ นั่นรวมถึงสัตว์ พืช แร่ธาตุ และพลังงาน ต่างๆ ที่เปรียบเสมือนฟันเฟื่องของเวลาที่เหลืออยู่ของโลกใบนี้ต้องหมุนนับถอยหลังเร็วขึ้น
แม้ทุกคนจะตระหนักได้ดีถึงการเตือนภัยนี้ แต่ก็ยังมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อยากจะเข้ามาใส่วนร่วมอย่างจริงจังในการชะลอเวลาหรือบรรเทาปัญหาของโลกใบนี้ให้น้อยลง อาจเนื่องมาจากปัญหาที่ใหญ่มากเกินกว่าความรู้ของเราที่จะเข้าถึง ซับซ้อนเกินกว่าจะมีเวลามาสนใจ หรือการจะช่วยโลกเนี่ยมันยากขนาดนี้ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนอื่นแล้วกัน ไม่เว้นแต่ตัวผมเองที่รู้สึกว่าจะมาทำอะไรกันเฉพาะวันสำคัญวันหนึ่งพอเลิกเห่อแล้วก็ลืม ไม่ทำดีกว่า ทั้งหมดที่กล่าวมาทำให้เราหันไปให้ความสำคัญกับเรื่องบ้าบอวัตถุนิยมการเมืองนามธรรม ที่ดูแล้วจะมีคุณค่ากว่าซึ่งไม่จริงเลย เพราะถ้าโลกยังไม่สงบเต็มไปด้วยภัยธรรมชาติที่ยากจะคาดเดาแล้วเราจะมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไรจริงไหม
บางคนอาจะคิดแตกออกไปอีกว่า แล้วมันจะแก้ปัญหาทันหรอ บอกได้เลยว่ามันจะสะสมนานมาก นักวิทยาศาสตร์หลายท่านการันตีว่าไม่ทัน แต่สามารถบรรเทาได้ คำถามต่อไปคือ ถ้าสุดท้ายก็ไม่ทันแล้วจะทำเพื่ออะไร เอาให้มันเต็มที่ ใช้พลังงานให้หมดให้มันคุ้มค่าไปเลยดีกว่า อยากจะบอกว่าอย่าใจร้อนตัดสินอนาคตของตัวเองและลูกหลานด้วยอามรมณ์ชั่ววูบ มนุษย์เราควรจะมีความหวัง เพราะหนทางแห่งการบรรเทานั้นก็ช่วยยืดเวลาให้คนรุ่นต่อไปได้นำความรู้ใหม่ๆมาปรับจูนโลกของเราได้
ที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้ต้องการจะบอกให้ทุกคนมาเรียนวิทยาศาสตร์หรือออกจากงานมากู้โลก แต่อยากนำเสนออีกมุมมองที่เริ่มจากสิ่งใกล้ตัว พร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าว่าสองมือเล็กๆของเราจะช่วยโลกใบใหญ่ด้วยวิธีไหนได้บ้าง

01
การดื่มน้ำอัดลมนอกจากจะทำให้อ้วนแล้วยังเพิ่มปริมาณขยะในประเภทของขวดให้กับโลกใบนี้ถึงปีละ 1.3 แสนล้านขวดต่อปี ซึ่งต้องใช้วิธีกำจัดด้วยการฝังกลบและเผาด้วยเตาความร้อนสูง ส่งผลให้เป็นสาเหตุของอุณหภูมิโลกสูงขึ้นได้

02 ถุงพลาสติกที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ทั่วโลก เราใช้มัน หนึ่งล้านถุงทุกๆหนึ่งนาที คิดเป็นปีละหนึ่งล้านล้านใบและในหนึ่งปีคนไทยใช้ถุงพลาสติกนำมาต่อกันได้ระยะทางไปกลับดวงจันทร์ถึงเจ็ดรอบ จากข้อมูลจำนวนที่กล่าวไป ถ้าคิดว่าเยอะแล้ว มาดูกันว่าการย่อยแบบปกตินั้นต้องใช้เวลามากถึง 450 ปี ฉะนั้นการใช้ถุงผ้าสัปดาห์ล่ะหนึ่งวัน จะช่วยลดการให้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุงต่อปี

03 ลองเปลี่ยนมาทานอาหารมังสวิรัติอาทิตย์ละวัน นอกจากจะช่วยให้สุขภาพดี ระบบย่อยไม่ทำงานหนักแล้ว ยังสามารถทำให้โลกน้อยลงด้วย เพราะสัตว์เช่นวัวที่เราเอาเนื้อมาประกอบอาหารนั้น ในกระบวนการเลี้ยงจะก่อแก็สมีเทนซึ่งส่งผลให้โลกร้อนได้โดยตรง และยังสิ้นเปลืองทรัพยากรในการเลี้ยงดู รวมถึงวิธีการขนส่งที่สูงกว่าพืชผักผลไม้ด้วย

04 หลายคนเป็นโรคคล้ายกันระบาดไปทั่วคือ ตืดจอคอมพิวเตอร์ ใช้บ่อยจนไม่อยากปิดเครื่อง ซึ่งนอกจากจะไม่ดีต่ออายุการใช้งานแล้วยังเปลืองพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย เพราะถ้าเราใช้คอมพิวเตอร์แค่วันละแปดชั่วโมงจะช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 810 กิโลวัตต์ต่อปี สรุปลดไปได้ 67%  ต่อปี คำนวณเล่นๆแค่ลดค่าไฟที่ต้องจ่ายก็เหลือเงินไว้กินขนมได้หลายมื้อเลย

05 การเลือกซื้อเสื้อผ้าที่ไม่ฟอกสีจะช่วยลดพลังงานในการผลิตได้ถึง 50% ต่อตัว และสารเคมีที่ใช้ฟอกจะไม่เป็นอันตรายต่อคนย้อม คนใส่ และสิ่งแวดล้อมด้วย ถ้าวัยรุ่นคนไหนจะซื้อเสื้อใหม่ลองเปลี่ยนไปเป็นผ้าที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติหรือที่ได้รับการรับรองว่าเป็นมิตรกับธรรมชาติ ก็สบายใจหายห่วงได้

แม้จะมีคำทำนายมากมายของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เป็นข่าวร้ายของโลก แต่ตราบใดที่มันยังไม่เกิดเราทุกคนก็ยังมีหวัง มีหนทางที่จะบรรเทาปัญหาของโลกได้ ด้วยการเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวเพราะมันทำได้ง่าย ทำได้ทันทีและไม่เสียเวลามากมายนัก หรือแม้แต่ถ้ามันเกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้น มนุษย์ก็ควรจะเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติอย่างมีความสุขทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ขาดความเคารพและพยายามเอาชนะธรรมชาติ มิเช่นนั้นวันที่จะได้เห็นมนุษย์กับธรรมชาติอยู่ด้วยกันอย่างสันติคงไม่มีทางเกิดขึ้น คล้ายกับช่วงเวลานี้ที่เหมือนธรรมชาติจะโกธรและส่งภัยธรรมชาติไปเกือบทุกพื้นที่โดยไม่แคร์สถิติที่ผ่านมาเลย




ที่มา: นิตยสาร miracle of life