วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รักษาป่าสัก 100 ปี "ป่าสักนวมินทรราชินี"


ย้อนหลังกลับไปเมื่อราวกลางปี 2552 คนไทยทั้งประเทศโดยเฉพาะกลุ่มคนรักป่าต่างตกอยู่ในอาการตื่นเต้นดีใจกับข่าวใหญ่ เมื่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกมาประกาศข่าวการค้นพบป่าสักธรรมชาติผืนใหญ่อายุกว่า 100 ปี บนเนื้อที่มากกว่า 30,000 ไร่ ในเขตลุ่มน้ำปาย ครอบคลุมพื้นที่ อ.ปางมะผ้า อ.ปาย และ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยบางจุดที่พบเป็นพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร ซึ่งถือเป็นความน่าอัศจรรย์อย่างหนึ่ง เพราะปกติต้นสักจะเติบโตอยู่ที่ระดับ 100-700 เมตร หรือสูงสุดเพียง 1,000 เมตรเท่านั้น
   
แต่ท่ามกลางความรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่เกิดขึ้น หลายคนคงอดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้ว่า อนาคตของป่าสักผืนนี้ จะต้องตกไปอยู่ในชะตากรรมเดียวกันกับป่าไม้หลายแห่งที่บุกรุกทำลายด้วยหรือไม่ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าป่าอนุรักษ์แต่ละแห่ง ล้วนยังต้องเผชิญกับการบุกรุกทำลายทั้งจากการลักลอบตัดไม้จากกลุ่มผลประโยชน์ และการบุกรุกแผ้วถางของชาวบ้าน ซึ่งบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปายก็อยู่ในภาวะความเสี่ยงไม่แพ้กัน
   
นายสุนันต์ อรุณนพรัตน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ความโชคดีของป่าสักผืนนี้ คือ มีภูมิประเทศโดยรอบเป็นภูเขาสูงและสลับซับซ้อน ทำให้เป็นเรื่องยากหากจะมีการเข้ามาลักลอบตัดไม้แล้วชักลากออกไปโดยตรง ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การตัดไม้แล้วปล่อยท่อนซุงลอยไปตามลำน้ำ แล้วไปดักรอนำท่อนซุงขึ้นบริเวณปลายน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงได้วางแนวทางป้องกันด้วยการตั้งด่านสกัดและจัดเรือออกลาดตระเวนตลอดลำน้ำ รวมทั้งจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการคอยลาดตระเวนตรวจสอบในพื้นที่ เพื่อมิให้มีการบุกรุกทำลายอย่างเข้มงวด
   
นอกจากนี้ ยังมีงานสำคัญอีกอย่าง คือ การทำงานกับชุมชนที่ อยู่ในเขตกันชนรอบ ๆ ป่า เพื่อดึง
เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผืนป่าแห่งนี้ไม่ให้ถูกทำลาย ทั้งจากธรรมชาติ คือ ไฟป่า ขบวนการลักลอบตัดไม้ และโดยน้ำ มือของชาวบ้านที่เข้าไปแผ้วถางรุกป่าเสียเอง
   
ถือเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของคนไทยและป่าสักผืนนี้ เนื่องจากเมื่อความทราบถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงรับป่าสักแห่งนี้ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 โดยใช้ชื่อว่า “โครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สัก และพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” และต่อมาวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 พระราชทานชื่อป่าสักแห่งนี้ว่า “ป่าสักนวมินทรราชินี”
   
“ตั้งแต่นั้นมา เราก็ใช้โครงการพระราชดำริออกนำหน้า โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดำเนินงานร่วมกัน ขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ก็เป็นตัวกลางในการประสานและอำนวยความสะดวก เช่น กรมชลประทานต้องเข้าไปวางระบบส่งน้ำ แต่ติดเงื่อนไขเรื่องกฎหมายเนื่องจากเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เราก็เข้าไปดูแลเรื่องการออกคำสั่งอนุญาตต่าง ๆ ให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ขณะที่ชาวบ้านเองเมื่อทราบว่าเป็นโครงการในพระราชดำริ ทุกคนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะพวกเขาเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น” นายสุนันต์ กล่าว
   
นายสว่าง กองอินทร์ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสนองพระราชดำริ กรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะยาว จะมีการเตรียมพัฒนาพื้นที่รอบนอกป่าสักให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ คุณค่าของไม้สักและทรัพยากรอื่น ๆ ในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการรักษาป่า และสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายว่า หากการบริหารจัดการพื้นที่เป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งการสำรวจและเก็บข้อมูลต่าง ๆ มีความครบถ้วนรอบด้าน “ป่าสักนวมินทรราชินี” ผืนนี้ จะถูกนำเสนอต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เพื่อให้ประกาศเป็น “มรดกโลกทางธรรมชาติ” อีกแห่งหนึ่งของคนไทย.
ย้อนหลังกลับไปเมื่อราวกลางปี 2552 คนไทยทั้งประเทศโดยเฉพาะกลุ่มคนรักป่าต่างตกอยู่ในอาการตื่นเต้นดีใจกับข่าวใหญ่ เมื่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกมาประกาศข่าวการค้นพบป่าสักธรรมชาติผืนใหญ่อายุกว่า 100 ปี บนเนื้อที่มากกว่า 30,000 ไร่ ในเขตลุ่มน้ำปาย ครอบคลุมพื้นที่ อ.ปางมะผ้า อ.ปาย และ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยบางจุดที่พบเป็นพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร ซึ่งถือเป็นความน่าอัศจรรย์อย่างหนึ่ง เพราะปกติต้นสักจะเติบโตอยู่ที่ระดับ 100-700 เมตร หรือสูงสุดเพียง 1,000 เมตรเท่านั้น
   
แต่ท่ามกลางความรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่เกิดขึ้น หลายคนคงอดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้ว่า อนาคตของป่าสักผืนนี้ จะต้องตกไปอยู่ในชะตากรรมเดียวกันกับป่าไม้หลายแห่งที่บุกรุกทำลายด้วยหรือไม่ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าป่าอนุรักษ์แต่ละแห่ง ล้วนยังต้องเผชิญกับการบุกรุกทำลายทั้งจากการลักลอบตัดไม้จากกลุ่มผลประโยชน์ และการบุกรุกแผ้วถางของชาวบ้าน ซึ่งบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปายก็อยู่ในภาวะความเสี่ยงไม่แพ้กัน
   
นายสุนันต์ อรุณนพรัตน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ความโชคดีของป่าสักผืนนี้ คือ มีภูมิประเทศโดยรอบเป็นภูเขาสูงและสลับซับซ้อน ทำให้เป็นเรื่องยากหากจะมีการเข้ามาลักลอบตัดไม้แล้วชักลากออกไปโดยตรง ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การตัดไม้แล้วปล่อยท่อนซุงลอยไปตามลำน้ำ แล้วไปดักรอนำท่อนซุงขึ้นบริเวณปลายน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงได้วางแนวทางป้องกันด้วยการตั้งด่านสกัดและจัดเรือออกลาดตระเวนตลอดลำน้ำ รวมทั้งจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการคอยลาดตระเวนตรวจสอบในพื้นที่ เพื่อมิให้มีการบุกรุกทำลายอย่างเข้มงวด
   
นอกจากนี้ ยังมีงานสำคัญอีกอย่าง คือ การทำงานกับชุมชนที่ อยู่ในเขตกันชนรอบ ๆ ป่า เพื่อดึง
เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผืนป่าแห่งนี้ไม่ให้ถูกทำลาย ทั้งจากธรรมชาติ คือ ไฟป่า ขบวนการลักลอบตัดไม้ และโดยน้ำ มือของชาวบ้านที่เข้าไปแผ้วถางรุกป่าเสียเอง
   
ถือเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของคนไทยและป่าสักผืนนี้ เนื่องจากเมื่อความทราบถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงรับป่าสักแห่งนี้ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 โดยใช้ชื่อว่า “โครงการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมไม้สัก และพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบริเวณลุ่มน้ำของ-ลุ่มน้ำปายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” และต่อมาวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 พระราชทานชื่อป่าสักแห่งนี้ว่า “ป่าสักนวมินทรราชินี”
   
“ตั้งแต่นั้นมา เราก็ใช้โครงการพระราชดำริออกนำหน้า โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดำเนินงานร่วมกัน ขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ก็เป็นตัวกลางในการประสานและอำนวยความสะดวก เช่น กรมชลประทานต้องเข้าไปวางระบบส่งน้ำ แต่ติดเงื่อนไขเรื่องกฎหมายเนื่องจากเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เราก็เข้าไปดูแลเรื่องการออกคำสั่งอนุญาตต่าง ๆ ให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ขณะที่ชาวบ้านเองเมื่อทราบว่าเป็นโครงการในพระราชดำริ ทุกคนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะพวกเขาเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น” นายสุนันต์ กล่าว
   
นายสว่าง กองอินทร์ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสนองพระราชดำริ กรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะยาว จะมีการเตรียมพัฒนาพื้นที่รอบนอกป่าสักให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ คุณค่าของไม้สักและทรัพยากรอื่น ๆ ในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการรักษาป่า และสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายว่า หากการบริหารจัดการพื้นที่เป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งการสำรวจและเก็บข้อมูลต่าง ๆ มีความครบถ้วนรอบด้าน “ป่าสักนวมินทรราชินี” ผืนนี้ จะถูกนำเสนอต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เพื่อให้ประกาศเป็น “มรดกโลกทางธรรมชาติ” อีกแห่งหนึ่งของคนไทย.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น